ประเมินความสอดคล้อง กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

ประเมินความสอดคล้อง กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน



ประเมินความสอดคล้อง กฎหมายความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย หมายถืง การตรวจสอบการปฏิบัติหรือบริบทขององค์กร(โรงงาน) ว่ามีการดำเนินการถูกต้องสอดคล้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ?

งานใดที่ต้องประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย
- งานการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- งานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
- งานการจัดการด้านผลิตภัณฑ์(ผลิตสินค้า)
- งานบริหารงานบุคคล
- งานการจัดการขนส่ง
- งานด้านบัญชีและการเงิน
- ฯลฯ

เกือบจะทุกส่วนขององค์กรที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้สำหรับ จป. ก็ต้อง
“ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมายด้านความปลอดภัยฯ”ซึ่งมีขั้นตอน พอสังเขป ดังนี้
๑. รวบรวมข้อมูลขององค์กร(โรงงาน) เช่น จำนวนพนักงาน, เวลาทำงาน, รายการเครื่องจักร อุปกรณ์, รายการวัตถุดิบ, ขึ้นตอนการปฏิบัติงาน ,ข้อมูลสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน ฯลฯ
ซึ่งการรวบรวมอาจจะ
- ขอหลักฐาน/ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การสำรวจพื้นที่
- การสอบถาม/พูดคุย
ฯลฯ
๒. รวบรวมประกาศ ข้อกำหนด กฎหมาย จากแหล่งต่างๆ เช่น
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp
https://sites.google.com/site/accessbyjorpor/
https://www.sde-c.com/


๓. อ่านกฎหมาย แล้วสรุปเฉพาะหัวข้อ หรือ มาตราที่เกี่ยวข้องกับองค์กร(โรงงาน) ลงในแบบฟอร์มที่เตรียมไว้

๔. พิจารณาข้อความที่สรุปจากกฎหมาย กับการปฏิบัติหรือบริบทขององค์ ซึ่งอาจจะมีหลักฐานประกอบตาม “ขั้นตอนที่ ๑” ด้วย โดยแยกเป็น ๒ ประเด็น คือ “สอดคล้อง” และ “ไม่สอดคล้อง”

๕. ในหัวข้อใด ที่ “ไม่สอคล้อง” ต้องรวบรวม จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ “สอดคล้อง” ตามความเร่งด่วนควรประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย เมื่อไหร่?
สำหรับช่วงเวลาที่ควรดำเนินการคือ
๑. “ทบทวนประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย” ตามเวลาที่กำหนด เช่นอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒. เมื่อมีกฎหมายใหม่ ประกาศบังคับใช้ หรือมีการแก้ไขกฎหมาย
๓. เมื่อการปฏิบัติหรือบริบทขององค์กร(โรงงาน) มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ฝึกประเมินความสอดคล้อง กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ฝึกประเมินความสอดคล้อง กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพียงจองวันนี้ อบรมวันเดียวจบ พร้อมรับใบเซอร์!!! จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai